เทศกาล ปราการเฟสติวัล Prakan Festival  จังหวัดสมุทรปราการ นิทรรศการมีชีวิต Live Exhibition

admin

เทศกาล ปราการเฟสติวัล Prakan Festival  จังหวัดสมุทรปราการ  รางวัล Asia Local and Traditional Art Festival of 2024 Awards  จาก IFEA International Festivals and Events Association ด้วยรูปแบบเทศกาลงานสร้างสรรค์ แนวใหม่  สมุทรปราการ นิทรรศการมีชีวิต Live Exhibition  งานจะมีวันที่ 14 – 17 มีนาคม 2567

 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ร่วมกับกองทัพเรือ , จังหวัดสมุทรปราการ ฐานทัพเรือกรุงเทพ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมผีเสื้อสมุทร ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานภาครัฐของจังหวัดสมุทรปราการ จัดงานเทศกาล ปราการเฟสติวัล Prakan Festival จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 2

เมื่อเวลา 9.00 น.วันที่ 14 มีนาคม 2567  บริเวณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ  พลเรือโทกำจร เจริญเกียรติ รองเสนาธิการทหารเรือสายงานกิจการพลเรือน, คุณภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ) , นาวาเอก จตุรงค์ ชมภู ผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ ,นายโชติพงศ์ เปล่งวิทยา นายอำเภอพระสมุทรเจดีย์ , นายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.สำนักงานฉะเชิงเทรา ,นายชัย อรุณานนท์ชัย นายกสมาคมการค้าพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรปราการ  , ดร.สุรัชสานุ์ ทองมี ผู้อำนวยการภาคกลางและภาคตะวันออกสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) พร้อมด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วนในจังหวัดสมุทรปราการ แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมเปิดงาน งานเทศกาล ปราการเฟสติวัล Prakan Festival จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 2 โดยมีการสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ร่วมรับชมการแสดงจินตลีลาจากนักเรียนโรงเรียนวัดโสธรวราราม และโรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

สัมผัสประสบการณ์ การเที่ยวท่องล่องชม รูปแบบงานแสดงศิลปะ การแสดงสด บนพื้นที่จริง ชุมชน  ป้อมปราการ  พิพิธภัณฑ์  หอชมเมือง เล่าเรื่อง เหตุการณ์ รศ.112  และประวัติศาสตร์เมืองสมุทรการ ผ่านการติดตามเส้นทาง  แผนที่เมืองสมุทร หมุดหมายปราการ ด้วยมิติการจัดงานแบบ นิทรรศการมีชีวิต  Live Exhibition “ปราการมั่นคง ดำรงธงชาติสยาม”
ณ ป้อมผีเสื้อสมุทร วันที่ 15-17 มีนาคม 256

เปิดประสบการณ์ กับการท่องไปในเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ รศ.112 สัมผัสเรื่องราวจากการเที่ยวท่องชมป้อมผีเสื้อสมุทร ท่ามกลางฉากทัศน์ต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น เล่าเรื่องผ่านบทบาทจำลองบุคคล ราวกับได้เข้าอยู่ร่วมในเหตุการณ์จริง  โดยผู้ชม ชมร่วมออกเดินติดตามการนำเสนอ ไปยังพื้นที่ต่างๆ ของนิทรรศการมีชีวิต ซึ่งแบ่งทั้งหมดออกเป็น 4 พื้นที่ ประกอบด้วย

จากภาพวาดสู่ความทรงจำ  ห้วงเวลาแห่งการเผชิญหน้า  ปราการป้องแผ่นดิน ปากน้ำสมุทร หมุดหมายแห่งปราการ   รอบการแสดง รอบละ 30 นาที สำรองเข้าชม ในรอบเวลา 15.15 / 16.00 / 16.45 รอบละ 80 คน

พิเศษสุดไฮไลท์  ในบริเวณ ป้อมผีเสื้อสมุทร จะได้มีการจัดแสดง นิทรรศการ “กว่าจะมาเป็นธงชาติไทย” จาก พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ชมผังธงโบราณของ ANDRIVEAU-GOUJON ที่มีการพิมพ์ “ธงช้างเผือก”  ธงชาติสยาม ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อายุ 187 ปี พร้อมชมเบื้องหลังสารคดี สารคดี “ธงช้างเผือก” ธงชาติสยาม   ผืนเดียวในประวัติศาสตร์ ที่ถูกฝรั่งเศสยึดไปในฐานะผู้พ่ายแพ้ในสงคราม “Franco-Siamese War 1893” หรือในภาษาไทยเรียกว่า วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ปัจจุบัน ธงช้างเผือก ผืนดังกล่าวได้ถูกแขวนไว้ที่ Église Saint-Louis-des-Invalides    กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Live Exhibition “ปราการสืบสาน” ณ เมืองโบราณ วันที่ 14 มีนาคม 2567

เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์เอกชนกลางแจ้งแห่งสยามประเทศ กับนิทรรศการมีชีวิต ประวัติศาสตร์แห่ง ศรีอโยธยา ย้อนเวลา  ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ร่วมประสบการณ์ สุด Exclusive ด้วยพิธีรับขวัญ ต้อนรับ แขกบ้านแขกเมือง  สดับรับฟังกาพย์เห่เรือ

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร การบรรเลงรับชวัญ ระบำราชสำนักอยุธยาท่ามกลางท้องพระโรงอันสง่างาม  ติดตามมาด้วยการชมเครื่องคาวหวาน ตระการตา อาหารท้องถิ่นชาวสมุทรปราการ จำลองบรรยากาศท่าน้ำนานาชาติ ณ ตลาดน้ำเมืองโบราณ เป็นสถานีการค้าของชาวฮอลันดาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีการยกย่องในหมู่ชาวฮอลันดาว่าเป็นเมือง “นิวอัมสเตอร์ดัม”

พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ ปราการแห่งการสร้างสรรค์ งานออกแบบนาวาสยาม  ความหมายแห่ง เรือรบหลวงโบราณ งานออกแบบสร้างเรือพระราชพิธี ศิลปะแห่งอาภรณ์ เครื่องแบบ กับการจัดแสดงในวาระพิเศษ ครั้งแรกของการเปิดให้ชม การจัดแสดงชุดเครื่องแบบ ของ พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือสยาม ผู้เป็นรองผู้บัญชาการการรบของสยามในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 และเป็นผู้ออกแบบป้อมพระจุลจอมเกล้า

ส่งต่อแรงบันดาลใจนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ร่วมสร้างผลงานศิลปะ Dream of Prakan  โดยกลุ่ม DRU Street Art ร่วมกันสร้างป้อมปราการในฝัน ยาวกว่า 10 เมตร ติดตั้งกลางลานหน้าพิพิธภัณฑ์  พิมพ์ธง ศิลปะสาธารณะ ประดับงาน สร้างปราการเดอะฮีโร่ จาก การ์ตูน อัศวินสายรุ้ง ผลงานศิลปินชาวสมุทรปราการ พ.บางพลี ชมการแสดงงานศิลปะจาก กวี ศิลปิน เยาวชน เมืองสมุทร

ละครเวที ขอให้การพายเรือของเจ้าเที่ยวนี้ จงเป็นเที่ยวสุดท้าย ผลงาน นักเขียนชาวสมุทรปราการ เสนีย์ เสาวพงศ์  การแสดงศิลปิน ละครใบ้ จาก  Mime Artist ชื่อดังของเมืองไทย  การจัดฉายภาพยนตร์ หนังสั้น สมุทรปราการ  และงานออกร้านอาหารท้องถิ่น ชาวสมุทรปราการ  ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ชมการแสดงแสงสี สุดล้ำกับครั้งแรกของพิพิธภัณฑ์ ทหารเรือ ในการจัดแสดงแบบ Night Museum พร้อมการนำชมในรูปแบบ การแสดงสด จากตัวละครย้อนอดีตมาเล่า และพาผู้ชมเข้าสู่มิติพิศวง

พบกับนิทรรศการมีชีวิต  Live Exhibition “จากปากน้ำสู่ปราการ” ตัวละครจากอดีต จะนำพาไปสู่ช่วงเวลาที่สำคัญในอดีต กับนิทรรศการ “ร้อยเป็นเรื่อง เมืองปากน้ำ” โซนที่ 1 – 4

ปากน้ำเมื่อนานมา เข้าท่าเมืองหน้าด่าน ปรากฏเป็นปราการ ปราการป้องแผ่นดิน พร้อมด้วยการนำเสนอ ผ่านเทคโนโลยีอันล้ำสมัย  รอบที่ 1 10.20 – 11.20 น. รอบที่ 2 13.20 – 14.20 น. รอบที่ 3 14.20 – 15.20 น.  (เต็มทุกรอบ)

14 -17 มีนาคม 2567 ร่วมประสบการณ์ใหม่ กับ เทศกาล ปราการเฟสติวัล โดยการจองผ่านระบบ Application Prakan  พร้อมทั้งสามารถที่จะดาวน์โหลด”แผนที่เมืองสมุทรหมุดหมายปราการ เพื่อออกสำรวจเส้นทางปราการ อันนำไปสู่แหล่งประวัติศาสตร์ และสถานที่ที่น่าสนใจหลากหลายทั่วทั้งเมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ นิทรรศการมีชีวิต Live Exhibition

ซึ่งการเกิดขึ้นของงานเทศกาลปราการ Festival ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำอัตลักษณ์ต่างๆในหลายๆของจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี เรื่องเล่า ตำนาน ความเชื่อ รวมถึงของดีในอดีต กลับออกมาฉายในรูปของ Festival

ได้อย่างชัดเจน โดยการจัดงานนี้ ได้มีกิจกรรมของปราการเฟสติวัล ขยายกระจายตัวออกไปในพื้นที่ ต่างๆถึง 5 แห่ง คือ ป้อมผีเสื้อสมุทร หอชมเมือง เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านขุนสมุทรจีน พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ โดยเฉพาะ ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จะถือว่า นี่เป็นการจัดในรูปแบบ Night Museum ครั้งแรก โดยงานจะมีวันที่ 14 – 17 มีนาคม 2567

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

“เพราะเงินซื้อความสุขได้ตอนนี้” นี่คือเเนวคิดใหม่ของ Gen Z

⭐️ “เพราะเงินซื้อความสุขได้ตอนนี้” นี่คือเเนวคิดให […]

You May Like

Subscribe US Now